วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557
วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557
Social learning and Social media
Social learning and
Social media
Social Learning
การเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning) หมายถึง การเรียนรู้เงื่อนไขต่างๆ
ในสังคม การเรียนรู้นี้ทำให้คนมีความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมต่างๆ
ตามที่สังคมนั้นๆ มีอยู่
ทำให้คนที่เติบโตในสังคมไทยมีความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมแบบไทย
ดังนั้นถ้าคะแนนค่าเฉลี่ยของผลการสอบระดับชาติ เช่น O-NET, A-NET, หรือ V-NET ต่ำ
หรือสูง ไม่สามารถอธิบายว่าการเรียนรู้ทางสังคมของประเทศไทย หรือสังคมไทยนั้นดีหรือไม่ดีซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับนโยบายการศึกษา
การให้โอกาสทางการศึกษา การแข่งขัน การเรียนเสริม การกวดวิชา
ซึ่งเป็นการเรียนรู้ทางสังคมในบริบทที่แตกต่างไป
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม หรือ Social Learning
Theory เป็นทฤษฎีที่มีแนวคิดมาจากการเรียนรู้จากผู้อื่น
โดยได้รับประสบการณ์จากการฟัง ดู อ่านงานผู้อื่นมากกว่าทำด้วยตนเอง (Vicariousness)
ซึ่งอาจเป็นการรับเอา (Adopting) พฤติกรรมของผู้อื่นเป็นแบบแผนในการกำหนดพฤติกรรมตนเอง
อาจเกิดจากการสังเกต พบเห็นอยู่เป็นประจำ และอาจมีแรงจูงใจ
ความประทับใจที่แตกต่างกันในกลุ่มผู้รับเอาแบบแผนพฤติกรรมมาใช้เป็นแบบอย่างหรือเป็นต้นแบบการสร้างแบบแผนของตนเองขึ้น
การเรียนรู้ทางสังคมจึงเป็นกระบวนการเผยแพร่ความรู้ ความคิด พฤติกรรม
หรือแม้แต่วัตถุ สิ่งของ เทคนิควิธีการ เครื่องมือ และเทคโนโลยีต่าง ๆ
ในสังคมที่มีระบบสังคมเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดกระบวนการเรียนรู้ทางสังคม
การถ่ายทอดวัฒนธรรม ความรู้ ความคิด
และมีการใช้สื่อรวมทั้งกระบวนการสื่อสารในสังคม โดยเฉพาะในปัจจุบันมีเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการสร้างให้เกิดเครือข่ายทางสังคมออนไลน์
การสร้างเครือข่ายที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจึงเกิดขึ้นได้ง่าย
มีการเรียนรู้ทางสังคมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีกระบวนการของการเรียนรู้แยกย่อย ๆ
ได้เป็น 4 กระบวนการดังนี้
1. กระบวนการสร้างความสนใจ ในขั้นนี้การสร้างความโดดเด่น (Salience) ให้เกิดความแพร่หลาย (Prevalence) กระทบกับภาวะของการรับรู้และกระบวนการทางปัญญาที่สามารถเข้าใจ
(Cognitive Capabilities) กระตุ้นความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น
จนทำให้เกิดความพึงพอใจ อิทธิพลของสื่อสมัยใหม่สามารถสร้างความสนใจและเข้าถึงผู้คนส่วนมากได้อย่างง่ายและรวดเร็ว
2. กระบวนการสร้างความคงทน เป็นส่วนสำคัญที่ต้องออกแบบสถานการณ์ของการเรียนให้สามารถคงทนได้ดี
ทั้งนี้อาจใช้กระบวนการทำให้เกิดภาวะ “สะดุดในกระบวนการทางปัญญา”
หรือ Cognitive Disfluency รวมทั้งการย้ำเตือน
การใช้สัญลักษณ์ และวาทกรรมที่โดนใจ รวมทั้งอาจสร้างหรือทำสิ่งที่ แปลกใหม่
ล่อแหลม
ท้าทายต่อความถูกต้องเชิงวัฒนธรรมและกฎหมายเพื่อสร้างความคงทนในการจดจำสิ่งที่ได้รับรู้มาจากกระบวนการสร้างความสนใจ
3. กระบวนการแสดงออกเป็นผลิตภาพ เป็นกระบวนการเชื่อมโยงและถ่ายโอนของกระบวนการทางปัญญามาสู่พฤติกรรม
สังเกตได้จากพฤติกรรมการแสดงออก ทั้งการพูดและการกระทำ
ซึ่งไม่เพียงแต่การเลียนแบบของการได้รับรู้ หรือเรียนรู้มาเท่านั้น
ยังเป็นกระบวนการที่สร้างแบบแผนพฤติกรรมใหม่ที่มีแบบแผนเฉพาะแห่งตนขึ้นมาด้วย
4. กระบวนการสร้างแรงจูงใจเป็นแบบอย่าง
ในกระบวนการนี้เป็นการยืนยันและรับเอาแบบแผนแห่งตนเข้ามาเป็นบุคลิกภาพของตน
ในขั้นนี้อาจมีการให้รางวัลตนเอง หรือสนับสนุนการกระทำของตนเอง
ปฏิบัติงานให้เกิดการเรียนรู้ ด้วยเทคนิควิธีต่างๆ เช่น
การระดมสมอง การปฏิบัติการกลุ่ม เป็นต้น
กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม
มีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ (ธนพรรณ
ธานี. 2540 : 103)
1. ตระหนักรับรู้ปัญหา (Identify
Problem) ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนแรกที่จะแก้ไขปัญหา คือจะต้องทำให้ประชาชนทราบก่อนว่า มีปัญหาอะไรบ้าง และเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญในปัญหานั้น
2. หาทางเลือกในการแก้ไขปัญหา (Explore
Alternative) มีขั้นตอนย่อยๆ
ในการหาทางเลือกในการแก้ไขปัญหา คือ
การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา เพื่อพิจารณาถึงปัญหาว่า
มีสาเหตุมาจากอะไร
และอะไรเป็นสาเหตุที่แท้ของปัญหานั้น
และการพิจารณาหาทางเลือกในการแก้ไขปัญหาโดยพิจารณาว่า ปัญหาต่างๆ นั้นมีวิธีการแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีการใด
และแสวงหาทางเลือกที่หลากหลาย และเหมาะสมมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา
3. ตัดสินใจเลือกทางเลือก (Select
Appropriate Alternative) เป็นขั้นตอนการตัดสินใจว่า ทางเลือกต่างๆ
ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้นั้น
ทางเลือกใด
มีความเหมาะสมหรือมีความเป็นไปได้มากที่สุด สำหรับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในชุมชน
ซึ่งจะใช้กระบวนการคิดเป็นและกระบวนการอื่นๆ เข้ามาเป็นแนวทางในการตัดสินใจ
4. เรียนรู้และลงมือปฏิบัติตามทางเลือก (Learning and
Implementing) ซึ่งมีขั้นตอนย่อยๆ คือ
การวางแผนการดำเนินงาน
เป็นการดำเนินแนวทางการดำเนินงานตามทางที่เลือกที่กำหนดว่าจะต้องทำอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไร ใครเป็นผู้กระทำ และดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งในขณะปฏิบัติงานก็จะได้เรียนรู้วิธีการปฏิบัติและผลที่เกิดขึ้นแต่ละขั้นตอนที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดการเรียนรู้และเกิดทักษะในการปฏิบัติ
5. การปรับปรุง
(Improvement) ในระหว่างการดำเนินงานอาจเกิดปัญหาขึ้นได้
จะต้องมีการปรับปรุงและกระบวนการทำงานให้สามารถดำเนินการไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
6. การประเมินผล (Evaluation) เป็นการประเมินดูว่า
กิจกรรมที่ปฏิบัตินั้นสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ ถ้าแก้ไขปัญหาได้เป็นที่พอใจ ก็ถือว่า
ปัญหาที่ประสบอยู่หมดไป
ก็ดำเนินการแก้ไขปัญหาอื่นๆ
ต่อไป แต่ถ้าประเมินผลแล้ว ผลที่ออกมาไม่น่าพอใจ คือ
ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้
ก็ต้องเริ่มต้นพิจารณา
วิเคราะห์ปัญหาและอาจจะต้องหาทางเลือกใหม่
เริ่มต้นตามกระบวนการ SLP ใหม่ ดังภาพประกอบ 1
จะเห็นได้ว่า
กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม SLP เป็นกระบวนการในการค้นหาปัญหาและแก้ไขปัญหา โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการในการแก้ไขปัญหานั่นเอง
ซึ่งเป็นลักษณะเช่นเดียวกับกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งตามแนวคิดนี้
มีความเชื่อว่า
ถ้าประชาชนนำเอากระบวนการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ไปใช้แก้ไขปัญหาให้กับตนเอง ครอบครัว
หรือชุมชน
โดยหาทางเลือกที่เหมาะสมที่จะทำให้ตนเอง
หรือชุมชน
สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้เอง
ก็จะเป็นแนวทางนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและชุมชนได้ด้วยตนเอง
เทคนิคในการศึกษาและวิเคราะห์ชุมชนเหล่านี้ เป็นกรอบแนวคิดที่ผู้วิจัย นักพัฒนา
และผู้ที่จะเข้าไปศึกษาชุมชนพึงพิจารณาเพื่อที่จะได้มีความเข้าใจในสภาพของชุมชนในด้านต่างๆ ทั้งด้าน
กลุ่ม ผู้นำ ความเป็นอยู่
สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม
วัฒนธรรมประเพณี การเมือง แลระบบต่างๆ
ของชุมชนที่เชื่อมโยงกับระบบใหญ่
รวมถึงสภาพปัญหา
ความต้องการของชุมชน
ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนร่วมกับชุมชนในการพัฒนาชุมชนต่อไป
Social Media
Social Media ที่ใช้งานกันในปัจจุบันแบ่งออกเป็นหลายประเภท
สรุปเป็นประเภทใหญ่ๆ ที่สามารถนำประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบ่งออกเป็น 5
ประเภท ได้ แก่ 1) Blog 2) Social Networking 3) Microblog 4) Media Sharing และ 5) Social News and
Bookmaking โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. Blog มาจากคำเต็มว่า Weblog บางครั้งอ่านว่า
Weblog , Web Log ซึ่ง Blog ถือเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ใช้งานบนเว็บไซต์มีลักษณะเหมือนกับเว็บบอร์ด
ผู้ใช้ Blog สามารถเขียนบทความของตนเองและเผยแพร่ลงบนอินเทอร์เน็ตได้โดยง่าย
Blog เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความสามารถในด้านต่างๆ
เผยแพร่ความรู้ด้วยการเขียนได้อย่างเสรี ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็น Blog เช่น Learners, GotoKnow, wordpress,blogger เป็นต้น
2. Social Networking หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ในการสร้างเครือข่ายสังคมในอินเทอร์เน็ต
เพื่อให้ผู้ใช้เขียนและอธิบายความสนใจหรือกิจกรรมที่ทำเพื่อเชื่อมโยงความสนใจและกิจกรรมกับผู้อื่นในเครือข่ายสังคมด้วยการสนทนาออนไลน์
การส่งข้อความ การส่งอีเมล์ การอัปโหลดวิดีโอ เพลง รูปถ่ายเพื่อแบ่งปันกับสมาชิกในสังคมออนไลน์
เป็นต้น เครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เช่น Facebook,Hi5, Bebo,
MySpace และ Google+ เป็นต้น
ตัวอย่าง การใช้ Facebook
ในการจัดการเรียนการสอน
Facebook (เฟซบุ๊ค) คือ บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่ผู้ใช้สามารถสร้างข้อมูลส่วนตัวเพิ่มรายชื่อผู้ใช้อื่นในฐานะเพื่อน
และแลกเปลี่ยนข้อความ ติดต่อสื่อสาร ตั้งประเด็นถามตอบในเรื่องที่สนใจ โพสต์
รูปภาพ โพสต์คลิปวิดีโอ เขียนบทความหรือบล็อก สนทนาแบบโต้ตอบทันที
นอกจากนั้นผู้ใช้ยังสามารถร่วมกลุ่มความสนใจส่วนตัว จัดระบบตาม สถานที่ทำงาน
โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรืออื่นๆ และสามารถทำกิจกรรมต่างๆผ่านแอพลิเคชั่นเสริม (Applications)
ที่มีอยู่มากมาย
ซึ่งแอพลิเคชั่นดังกล่าวได้ถูกพัฒนาเพิ่มเติมขึ้นอย่างต่อเนื่อง การใช้งานเฟซบุ๊ค
ผู้ใช้จะคอยอัพเดทแบ่งปันข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน
ทั้งกลุ่มที่อยู่ในเฟซบุ๊คหรือแม้แต่ผู้ใช้เว็บไซต์อื่นที่เชื่อมต่อกับเฟซบุ๊ค
ยังสามารถสื่อสาร ส่งต่อหรือแบ่งปันข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทำให้สังคมออนไลน์บนเฟซบุ๊คเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางและเข้มแข็งมาก
ในการนำเฟซบุ๊คมาใช้ เพื่อกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นสามารถนำเฟซบุ๊คมาใช้การแบ่งปันเรื่องราว
ความรู้ แง่คิด ประสบการณ์ ทำให้เราเรียนรู้เรื่องราวชีวิตของผู้อื่น
สามารถนำสิ่งที่ได้มาปรับใช้ได้ การเรียนรู้รวมกันผ่านเฟซบุ๊คทำได้โดยสร้างกลุ่มเพื่อการเรียนรู้เรื่องที่สนใจร่วมกัน
และสามารถนำ เฟซบุ๊คไปใช้ใน การจัดการเรียนการสอน โดยใช้เป็นกิจกรรมหลัก
หรือการเสริมบทเรียน โดยการสร้างเป็นกลุ่มเรียนแล้วนำเสนอ
สื่อการสอนในรูปแบบของเนื้อหา บทความ สื่อมัลติมีเดีย การนำเสนองาน ผลงาน ฯลฯ
ทำให้เกิดความน่าสนใจเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
ครูและนักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านการพูดคุย แสดงความคิดเห็น
การสอบถาม การให้คำแนะนำและคำปรึกษา
ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลา ผู้ที่มีโอกาสเรียนรู้มากย่อมได้เปรียบ จะเห็นได้ว่าเฟซบุ๊ค
สามารถสร้างประโยชน์โดยเป็นแหล่งเรียนรู้ได้อีกช่องทางหนึ่ง
3.
Micro Blog เป็นรูปแบบหนึ่งของ Blog ที่จำกัดขนาดของข้อความที่เขียน
ผู้ใช้สามารถเขียนข้อความได้สั้นๆ ตัวอย่างของ Micro Blog เช่น
Twitter, Pownce, Jaiku และ tumblr เป็นต้น
โดย Twitter เป็น Micro Blog ที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด
กล่าวคือสามารถเขียนข้อความแต่ละครั้งได้เพียง 140 ตัวอักษร
ตัวอย่าง การใช้ Twitter
ในการจัดการเรียนการสอน
Twitter (ทวิตเตอร์) คือ เว็บไซต์ที่ให้บริการ blog
สั้น หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกกันว่า Micro-Blog
ซึ่งสามารถให้ผู้ใช้ส่งข้อความของตนเองให้
ผู้อื่นที่ติดตามทวิตเตอร์ของผู้เขียนอยู่นั้นสามารถอ่านได้ และผู้เขียนเองก็สามารถอ่านข้อความของเพื่อน
หรือคนที่กำลังติดตามผู้เขียนอยู่ได้ ซึ่งทวิตเตอร์ก็ถือได้ว่าเป็นเว็บไซต์ประเภท Social
Media ด้วยเช่นกัน ในรูปแบบของทวิตเตอร์นี้ ที่เรียกว่าเป็น blog
สั้นก็เพราะว่าทวิตเตอร์ให้เขียนข้อความได้ครั้งละไม่เกิน 140 ตัวอักษร
ซึ่งข้อความนี้เมื่อเขียนแล้วจะไปแสดงอยู่ในหน้า Profile ของผู้เขียน
และจะทำการส่งข้อความนี้ไปยังสมาชิกที่ติดตามผู้เขียนคนนั้นอยู่ (follower)
โดยอัตโนมัติ
โดยสามารถใช้ได้ทั้งจากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือจากโทรศัพท์มือถือ
ในการนำทวิตเตอร์มาใช้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม
โดยผู้สอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ ดังนี้
1. 1. แนะนำให้ผู้เรียนติดตามผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชา
2. 2. นำเสนอและติดตามหัวข้อที่สนใจโดยการใช้แท็กที่ขึ้นต้นด้วย
# (hash tag) ซึ่งหากผู้ใช้ทวิตเตอร์คลิกที่แท็กดังกล่าวก็จะเห็นข้อความทวีตที่มีแท็กเหล่านั้น
3. 3. สร้างกลุ่มที่สนใจเรื่องเดียวกันหรือเข้าร่วมเรียนวิชาเดียวกันหรือกิจกรรมเดียวกัน
โดยการใช้แท็กที่ขึ้นต้นด้วย # ข้อความที่เกี่ยวข้องกับวิชานี้จะมีแท็กที่ขึ้นต้นด้วย #xmlws นอกจากนี้ได้ใช้ฟังก์ชันรายชื่อ (list)ของทวิตเตอร์เพื่อดูข้อความทวีตของผู้เรียนทุกคนในวิชาที่สอน
ซึ่งการใช้ฟังก์ชันรายชื่อนี้เปรียบเสมือนการสร้างกลุ่ม
ซึ่งในที่นี้ก็คือกลุ่มของบัญชีทวิตเตอร์ของผู้เรียนที่สอน
4. Media Sharing เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้สามารถอัพโหลดรูปภาพ
แฟ้มข้อมูล เพลง หรือวิดีโอเพื่อแบ่งปันให้กับสมาชิก หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน
ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็น Media Sharing เช่น Youtube,
Flickrและ 4shared เป็นต้น
ตัวอย่าง การใช้ Youtube ในการจัดการเรียนการสอน
Youtube เป็นเว็บไซต์ที่มีลักษณะเปิดให้ใครก็ได้นำคลิปวิดีโอที่ตนมีอยู่ไปฝากไว้
โดยใช้ระบบการให้บริการโดยใช้โปรแกรม Adobe Flash เรียบเรียงเนื้อหาบนเว็บไซต์รวมไปถึงไฟล์วีดิโอต่างๆ
และสามารถนำฟังก์ชันต่างๆ ที่เว็บสร้างขึ้นมาไปช่วยในการเผยแพร่คลิปนั้นๆ
โดยมีเครื่องมือที่สำคัญคือ Embed Code ที่ใช้สาหรับแพร่กระจายคลิปต่างๆ
ไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก โดยผู้ใช้สามารถใส่ภาพวีดิโอเข้าไป เปิดดูภาพวีดิโอที่มีอยู่และแบ่งปันภาพวีดิโอให้ผู้อื่นดูได้ใน
YouTube จะมีข้อมูลเนื้อหารวมถึงคลิปภาพยนตร์สั้นๆ
และคลิปที่มาจากรายการโทรทัศน์ มิวสิกวิดีโอ และวิดีโอบล็อกลิ้ง
(ซึ่งเป็นการสร้างบล็อกโดยมีส่วนของข้อมูลที่เป็นภาพ วิดีโอ เป็นส่วนประกอบด้วย
โดยเฉพาะเป็นภาพวิดีโอที่เกิดจากมือสมัครเล่นถ่ายกันเอง)
โดยไฟล์วีดิโอที่เผยแพร่อยู่บนเว็บไซต์ส่วนใหญ่เป็นเพียงไฟล์คลิปสั้นๆ เท่านั้น
ความยาวเพียงไม่กี่นาที ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าชมได้ง่าย
โดยมีการแบ่งประเภทและจัดอันดับไฟล์วีดิโอ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ล่าสุด ไฟล์ที่มีผู้ชมมากที่สุด
ไฟล์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเพื่อให้ผู้ชมสามารถเลือกชมได้อย่างสะดวก และยังมีบริการที่สามารถดูวีดิโอได้ทีละเฟรม
โดยเลือกดูส่วนใดของวีดิโอก็ได้
ในการนำ Youtube มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
สามารถทำได้ดังนี้
1. 1.ใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน
เช่น สาธิตวิธีการทำอาหารเพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพจริงสามารถนำไปปฏิบัติได้
หรือสอนภาษาอังกฤษ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
และผู้เรียนสามารถนำไปต่อยอดการเรียนรู้ได้
2. 2. ผู้สอนสร้างกลุ่มของผู้เรียนแต่ละกลุ่ม
จากนั้นใช้ Youtube ในการเผยแพร่ผลงานของผู้เรียน
โดยให้ผู้เรียนจัดทำผลงานจากนั้นนาเสนอผลงานผ่านทาง Youtube จากนั้นแบ่งปันให้เพื่อนสามารถเข้าไปดูผลงานได้
3. 3. ผู้เรียนใช้เป็นแหล่งสืบค้นข้อมูล
ความรู้ ข่าวสาร เพิ่มเติมจากในห้องเรียน
สื่อโซเชียลมีเดียเพื่อการศึกษา : Social Media for Education
ความหมาย Social Media
The
Social Media Advisory Group. 2012 ( online )
อ้างถึงใน สุรศักดิ์ ปาเฮ ได้กล่าวไว้ว่า ในการนิยามความหมายของคาว่าสื่อสังคมหรือ
Social Media นั้นนับได้ว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากพอสมควรเนื่องจากเป็นศัพท์ซึ่งมีความหมายที่กว้างและมีความหลากหลายในเชิงคุณลักษณะของสื่อประเภทนี้
อย่างไรก็ตามได้มีการให้คำนิยามและความหมายที่น่าสนใจไว้ว่า
Social
Media หมายถึงเครื่องมือหรือรูปแบบจากเว็บ 2.0 ที่นำมาใช้ในเชิงบูรณาการของเนื้อหาผ่านการถ่ายทอดจากการเขียนและการส่งผ่านข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์หรือเว็บเพ็จ
และสื่อประเภทดังกล่าวสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนของครูได้ในหลากหลายรูปแบบเช่น
discussion , forum ,blogs , wikis และ 3d virtual
worlds เป็นต้น
สื่อโซเชียลมีเดียในเชิงสัญลักษณ์ที่เรียกว่า Wordle นี้เป็นกลุ่มคำที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่มีความหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับสื่อสังคมที่กล่าวถึง
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสื่อประเภทนี้จะมีบทบาทสำคัญที่จะทำหน้าที่ในหลายประการที่เป็นคุณประโยชน์และคุณลักษณะของการใช้ในเชิงบูรณาการที่นำมาใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน
รวมทั้งในด้านการศึกษาเรียนรู้
ขอบข่ายของสื่อโซเชียลมีเดีย ( Scope
of Social Media )
Kommers
( 2011 : online ) อ้างถึงใน สุรศักดิ์ ปาเฮ ได้กล่าวถึงขอบข่ายของสื่อโซเชียลมีเดีย
( Social Media ) ไว้ดังนี้
1.
เป็นสื่อสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงสังคม ( Media for
Social Interaction ) สื่อ Social Mediaก่อให้เกิด
ปฏิสัมพันธ์ของสังคมมนุษย์ ผ่านสื่อเทคโนโลยี ที่เห็นได้ชัดเจนในปัจจุบันได้แก่
การสร้างสัมพันธภาพความเป็นมิตรของกลุ่มเยาวชนวัยรุ่น และการสร้างเครือข่ายด้านอาชีพหรือการค้าพาณิชย์ซึ่งปฏิสัมพันธ์ของสื่อ
Social Media ดังกล่าวได้มีพัฒนาการก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวางภายใต้อิทธิพลของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ยุคเว็บ
2.0 ( Web 2.0 ) ในปัจจุบัน
2.
เป็นสื่อแห่งสังคมเครือข่าย ( Networked
Communities ) ความนิยมของการใช้สื่อ Social Media นั้นคงสืบเนื่องมาจากประสิทธิภาพของผู้ใช้เว็บทางคอมพิวเตอร์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพที่ดีกว่ารวดเร็วกว่า
และสร้างความเชื่อมั่นได้มากของสังคม ไม่ว่าจะเป็นผู้เรียน ผู้เล่นเกม นักวิชาชีพ
หรือแม้แต่ผู้ใช้ทั่วๆไป ที่พวกเขาสามารถที่จะสร้างความเชื่อมโยงเครือข่ายไปได้
ทุกหนทุกแห่งทั้งกลุ่มเพื่อนสนิท กลุ่ม
เพื่อนบ้าน คณะทำงาน
หรือเพื่อนร่วมชั้นเรียน/โรงเรียน
ก่อให้เกิดสัมพันธภาพแห่งความเป็นมิตรที่แนบแน่นทางสื่อ Social Media ดังกล่าว
3.
เป็นสื่อแห่งการสร้างสัมพันธภาพข้ามมิติ ( Intercrossing
Relationships ) สภาพการณ์ทางสังคมในยุคปัจจุบันมีความแตกต่างหลากหลายในมิติต่างๆทั้งเชิงสังคม
วัฒนธรรม วิถีชีวิต คุณธรรม จริยธรรม
โดยเฉพาะผลที่เกิดกับการศึกษาเรียนรู้ที่ต้องสร้างความเข้มแข็งและความพร้อมในทักษะความรู้ที่พึงประสงค์ให้เกิดกับผู้เรียน
ซึ่งสื่อ Social Media จะช่วยเสริมสร้างทักษะความรู้และโอกาสที่ดีเหล่านั้นได้หากกล่าวในเชิงโครงสร้างของความสัมพันธ์ของสื่อ
Social media ภายใต้ อิทธิพลของสื่อสังคมหรือ Social
Media เป็นสื่อที่มีแหล่งกำเนิดของการใช้ประโยชน์ในเบื้องต้นที่เกิดจากจุดมุ่งหมายของการสร้างเพื่อความบันเทิง
การสื่อสารและการมีส่วนร่วมในสังคมในรูปแบบของสื่อดิจิตอลประเภทต่างๆเช่น
การถ่ายภาพ วิดีโอ การส่งข้อความ ฯลฯ
ซึ่งปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้ขยายวงกว้างในการสร้างประโยชน์ ใช้สอย
โดยผ่านทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วในยุค Web 2.0 ในปัจจุบัน จนกลายเป็นการสร้างสังคมแห่งเครือข่าย ( Networking
) ซึ่งพัฒนาการเหล่านี้ได้เริ่มวิวัฒน์ก้าวหน้ามาตั้งแต่ปี ค.ศ.
1990 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
อาจสรุปให้เห็นถึงโครงสร้างของขอบข่ายสื่อ
Social Media ในยุค Web 2.0
ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ดังแสดงให้เห็นจากภาพต่อไปนี้
สรุป
สื่อสังคม หรือสื่อ Social Media เป็นสื่อทางการศึกษาเรียนรู้ในยุคแห่งสังคมออนไลน์ที่กำลังก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วในการปรับใช้ในวงการศึกษา
ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย
ต้องตระหนักและมองเห็นความสำคัญต่อสื่อดังกล่าวรวมทั้งการกำหนดแนวทางของการปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ทางสังคมในปัจจุบัน
ซึ่ง Social Media ในหลากหลายประเภทที่กล่าวถึงในเบื้องต้นนั้นคงเป็นสื่อการศึกษาที่ต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาเรียนรู้ในสังคมอย่างแน่นอนจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกฝ่ายต้องตระหนักและเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
Social
Media มีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของเด็กและเยาวชนเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร
แหล่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผู้สอนสามารถนำ Social Media มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อเป็นสิ่งดึงดูดใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีเพราะปัจจุบัน
Social Media เป็นเทคโนโลยีที่นับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้เรียนไปแล้วซึ่งผู้เรียนให้ความสนใจและเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
แหล่งที่มา
http://www2.thairath.co.th/content/270870
แหล่งที่มา
http://www2.thairath.co.th/content/270870
MOOCs (Massive Open online Course)
Massive
Open Online Course (MOOCs)
คำว่า อีเลิร์นนิง นั้นเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในวงการการศึกษา ซึ่งปัจจุบันสามารถเข้าถึงหลักสูตรการเรียนรู้ต่างๆ
ทางออนไลน์และอุปกรณ์โมบายต่างๆ ได้โดยสะดวก
เทคโนโลยีไอซีทีก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้งก็ทำให้เทคโนโลยีด้านอีเลิร์นนิงมีการพัฒนารูปแบบและช่องทางใหม่ๆ
เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
และเทคโนโลยีด้านการศึกษาที่กำลังถูกกล่าวขวัญถึงในปัจจุบันกันอย่างมากก็คือ
“MOOC”
(อ่านว่า “มู้ก”)
ความหมายของ Massive Open Online Course
Massive ผู้เรียนลงทะเบียนได้มากกว่า
10,000คน
Open ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ใครๆก็ลงทะเบียนเรียนได้
Online เรียนออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต
Course เปิดสอนได้ตลอดตามเวลาที่ต้องการได้
โดยไม่จำเป็นต้องขอรับประกาศนียบัตรผล การเรียน
Moocs ย่อมาจาก Massive Open Online Course หมายถึง การเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนแบบออนไลน์
แบบเปิดเสรีที่ไม่ว่าใครก็ตามจากซีกไหนในโลกสามารถสมัครเข้าเรียนได้ไม่จำกัดจำนวน
โดยเฉพาะการศึกษาระดับสูงที่ในระบบการศึกษาเดิมนั้นจำกัดอยู่แต่เฉพาะคนจำนวนน้อยเท่านั้น
ข่าวสารด้าน Massive
Open Online Course
Moocs เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันมีทั้งที่ทำในเชิงธุรกิจเพื่อสร้างกำไร
หรือเป็นแบบไม่แสวงกำไร หนึ่งใน Moocs แบบไม่แสวงกำไรที่เป็นรู้จักกันก็คือ
edX ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและเอ็มไอทีของสหรัฐอเมริกา
เปิดหลักสูตรออนไลน์ฟรีจากมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการ
ใครที่ไหนในโลกที่มีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษเพียงพอสามารถลงทะเบียนเรียนแบบออนไลน์ได้กันอย่างไม่จำกัด
มีผู้สอนที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
หรือผู้เชี่ยวชาญมาสอนผ่านระบบออนไลน์ไม่ต่างไปจากการเรียนในมหาวิทยาลัย
มีทุกอย่างที่เหมือนกันหมด ยกเว้นผู้เรียนไม่ได้ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเท่านั้น
วิธีนี้เปิดโอกาสให้คนจากทั่วโลกสามารถเข้าถึงการศึกษาระดับสูงได้แบบไม่จำกัด
ซึ่งในอดีตไม่สามารถทำได้
ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวใหม่เกิดขึ้นก็คือ กูเกิล ยักษ์ใหญ่ในวงการไอทีของโลกก้าวเข้าในแวดวงนี้ด้วยการเปิดแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิดใหม่ขึ้นมาที่ชื่อว่า
MOOC.org
โดยจับมือกับ edX ซึ่งนอกจากจะมีหลักสูตรออนไลน์ฟรีจาก
edX แล้ว ยังรับหลักสูตรออนไลน์จากภายนอกจาก สถาบันอื่นๆ
รัฐบาล ธุรกิจ และจากคนทั่วๆ ไปด้วย
กล่าวโดยรวบรัด MOOC.org
เปิดเสรีสำหรับใครก็ตามไม่ว่าจะเป็นคน หน่วยงาน องค์กร สถาบัน
เสนอหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์ขึ้นมาที่ไซต์เพื่อเปิดสอน
หรือสุดท้ายแล้วสูงสุดก็คือ จะทำให้ MOOC.org เปรียบเสมือนยูทูบสำหรับ
Moocs เลยทีเดียว
MOOC.org จะเปิดตัวจริงๆ กันกลางปีหน้า
เพราะฉะนั้นตอนนี้เข้าไปที่เว็บไซต์จะยังไม่มีหลักสูตรอะไรนอกจากข้อมูลคร่าวๆ
แต่สามารถดูของจริงที่ให้บริการอยู่จาก www.edx.org และสามารถเลือกลงทะเบียนเรียน
หลักสูตรต่างๆ ได้ด้วย
แต่ละหลักสูตรเมื่อเรียนจบและผ่านจะมีใบรับรองให้ว่าผ่านการเรียนมาแล้วในวิชานั้นๆ
นี่คือโอกาสทางการศึกษาที่เปิดกว้าง สำหรับมวลชนทั้งโลกจริงๆ
แม้จะจำกัดเฉพาะสำหรับคนที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้เท่านั้นก็ตาม
แต่ต้องยอมรับว่าในอดีตที่ผ่านมา
เราไม่เคยมีระบบการศึกษาแบบขนานใหญ่และเปิดเสรีมากขนาดนี้มาก่อน
แม้จะมีสิ่งที่เรียกกันว่า การศึกษาทางไกลแต่เมื่อเทียบกับ Moocs
แล้วยังห่างไกลกันมาก
ข้อจำกัด ที่จะเป็นอุปสรรคของผู้เรียนผ่าน Moocs
ก็คือ ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษเท่านั้น (มติชนรายวัน 2556)
องค์ประกอบของรายวิชา
MOOC
เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
โดยต้องมี
1.
วิดีโอแบบสั้นๆหลายๆชุด เช่น
1)
การพูดให้ข้อมูล
2)
การยกตัวอย่างงาน
3)
การทดลอง
2.
เอกสารประกอบออนไลน์
3.
การสนทนา
แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
4.
กิจกรรมออนไลน์
5.
การประเมินผลการเรียน
6.
การทดสอบความเขาใจ เช่น
แบบเลือกตอบ แบบจบกลม แบบประเมินตนเอง
คุณสมบัติสำคัญสำหรับของ
MOOCs
เป็นระบบเปิดหรือเรียนได้แบบเสรี โดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องมีการลงทะเบียนเป็นนักเรียนหรือเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
ทั้งสิ้น
รองรับผู้เรียนได้อย่างกว้างไกลและรับจำนวนผู้เรียนมากได้
ซึ่งมีความแตกต่างกับการเรียนแบบเดิมๆ
ที่รองรับผู้เรียนได้จำนวนน้อยเพราะต้องใช้ครูสอน ซึ่งทำให้มีข้อจำกัดเรื่องอัตราส่วนของครูกับคนเรียน
ซึ่ง MOOCs
ไม่มีข้อจำกัดนั้น เพราะสามารถรองรับผู้เรียนได้แบบมหาศาล
หรือคุณสมบัติอื่นๆ เช่น
เนื้อหาที่นำมาให้เรียนเป็นเนื้อหาแบบเปิด
(open
licensing of content) เป็นต้น
แนวคิดที่เป็นแก่นของ
MOOC
เรียกว่า “หัวใจของ MOOC”
1. การเข้าถึง (Accessibility)
: การเรียนผ่าน MOOC นั้นส่วนใหญ่จะไม่มีค่าใช้จ่าย
โดยผู้จัดทำ (มหาวิทยาลัยต่างๆ)และผู้ให้ทุนสนับสนุนเริ่มต้นด้วยแนวคิด “เราเป็นคนใจดี” (CSR) ไม่มีค่าใช้จ่าย
(หรืออาจมีค่าใช้จ่ายถ้าแลกกับปริญญาบัตรจริง)
ทำให้ใครก็ตามที่มีอินเตอร์เน็ตก็สามารถเรียนได้
แต่ก็ต้องฟังภาษาที่เค้าสอนรู้เรื่องด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นภาษาอังกฤษ
2. การปฏิสัมพันธ์ (Interaction)
: การเรียนผ่าน MOOC
นั้นผู้เรียนไม่ได้เพียงนั่งฟังอย่างเดียว
ระหว่างดูวิดีโอไปจะมีคำถามแทรกอยู่ตลอด ทำให้ผู้เรียนต้องตั้งใจเรียนตลอดเวลา
นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถตั้งคำถามโดยให้เพื่อนนักเรียนที่มีอยู่ทั่วโลกมาช่วยกันมาตอบได้
และสามารถปรึกษากับผู้ส่วนหรือผู้ช่วยสอนได้ตลอด
ซึ่งสิ่งนี้เป็นการสร้างบรรยายการเรียนแบบ one-on-one (มีคนช่วยสอนแบบตัวต่อตัว)
ให้เกิดเป็นจริงในโลกออนไลน์ได้แม้จะมีนักเรียนเป็นจำนวนมากก็ตาม
3. เสรีภาพ (Freedom) : ผู้เรียนจะเป็นใครอยู่ที่ไหน อายุเท่าไหร่
และมีพื้นฐานอะไรไม่สำคัญมีสิทธิเข้าเรียนได้เหมือนกันหมด
โดยสามารถเลือกวิชาที่อยากเรียนได้ตามใจชอบ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวบังคับ
(นอกจากจะเรียนเอาเกียรติบัตรและปริญญา) และเรียนตามความเร็วและเวลาที่ตัวเองสะดวก
ในกรณีที่เป็นการเรียนแบบตามอัธยาศัย (self-pace) แต่ถ้าเป็นการเรียนแบบมีกำหนดเวลาก็ต้องทำตามเวลาที่เค้ากำหนด (สุริยา เผือกพันธ์ 2013)
ลักษณะการเรียนของ Massive
Open Online Course
การเรียนลักษณะที่เรียกว่า MOOCs.
หรือ Massive Open Online Courses ที่ใช้หลักการนำเสนอแบบ
Anyone Anywhere “ใครก็ได้ อยู่ที่ไหนก็เรียนได้” เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น
และมีการเปิดหลักสูตรกันในมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งทั่วโลก ล่าสุดที่ออสเตรเลีย
โปรแกรม Open2Study ที่ออสเตรเลียได้เปิดโปรแกรมเรียนฟรีออนไลน์มาตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา
โดยมี 10 วิชา(หลักสูตร วิชาละ 4
สัปดาห์)
7 เดือนต่อมา มีการเพิ่ม 32 วิชาเรียน โดยผู้ลงทะเบียนเรียน 60%
มาจากต่างประเทศ โดยในจำนวนนี้ 5 ชาติที่เรียนมากที่สุด
ได้แก่ สหรัฐ อินเดีย สหราชอาณาจักร สเปน และ แคนาดา
คอร์สที่ได้รับความนิยมมาก ได้แก่ “Principles of project
management”, “Food, nutrition and your health”, “Writing for the web”, “User
experience for the web” and “Strategic management” ส่วนอาจารย์ผู้สอนก็มีความหลากหลาย
เพราะมาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งสถาบันในลักษณะโพลีเทคนิกต่าง ๆ
สิ่งที่เป็นความท้าทายของระบบ MOOCs
การศึกษาออนไลน์ ก็คือ แม้ว่าจะดึงดูดผู้เรียนได้จำนวนมาก
แต่ส่วนใหญ่เรียนไม่จบ จึงเป็นปัญหาให้ผู้ออกแบบระบบต้องไปวิเคราห์
เพราะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดการเรื่องนี้ โดยที่ผ่านมา มีเพียง 1 ใน 4 ที่เรียนโปรแกรม
Open2Study ที่จบหลักสูตรตามกำหนด อย่างไรก็ตาม
ผู้บริหารระบบOpen2Study มองในแง่ดีว่า
เป็นเพราะโปรแกรมมีการเน้นคุณภาพที่เข้มข้น กว่ารูปแบบอื่น ๆ
และจากที่มีการเปิดวิชาใหม่ขึ้นแทบทุกเดือน
ทำให้คาดว่าภายในสิ้นปี 2013 Open2Studyจะมีวิชาเรียนเพิ่มขึ้นเป็นมากถึง
50 วิชา (ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ 2556)
ผู้ให้บริการ MOOC (MOOC Provider) ยอดนิยม
เส้นทางความสัมพันธ์และเงินทุนของ 4 MOOC ยอดนิยม
KHAN ACADEMY (Khanacademy.org)
Salman Khan อดีตนักวิเคราะเฮจด์ฟันด์ผู้ก่อตั้ง
Khan Academy
ความเป็นมา
ก่อตั้งโดย Salman Khan ชาวอเมริกันเชื้อสายบังคลาเทศ-อินเดีย
ซึ่งเปิดสอนหัวข้อในระดับมัธยมเป็นหลักและขยายไปหลากหลาย ซึ่ง Salman Khan มีอดีตเป็นนักวิเคราะห์ของบริษัทเฮจด์ฟันด์ และเคยเรียนจบทั้ง MIT และ Harvard Business School ซึ่งบังเอิญต้องมาช่วยสอนการบ้านหลานสาวทาง
YouTube เมื่อคนดูแล้วชอบเลยได้รับการสนับสนุนจาก
มูลนิธิ Bill & Melinda Gates ถึง 5.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และได้เงินรางวัลสนับสนุนอีกหลายแหล่ง
และตอนนี้มีวิชาให้เรียนกว่า 3,000 บทเรียนแล้ว และมีคนเช้ามาเรียนกว่า
70,000 คนทุกๆ วัน มีระบบติดตามประเมินการเรียน
และมีการให้ Badge เป็นรางวัลรับรองความสำเร็จอีกด้วย
ที่สำคัญคือไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนใดๆ ทั้งสิ้น
COURSERA (Coursera.org)
Daphne Koller โปรเฟสเซอร์ด้าน Computer Science จากมหาวิทยาลัย Stanford
ผู้ร่วมก่อตั้ง Coursera
ความเป็นมา
เป็น MOOC ที่แสวงหากำไร ก่อตั้งโดย Andrew Ng
และ Daphne Koller โปรเฟสเซอร์ด้าน Computer
Science จากมหาวิทยาลัย Stanford โดยร่วมกับ 62
มหาวิทยาลัยและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งมหาลัยชื่อดังอย่างเช่น
Duke, California Institute of Technology, University of Illinois
at Urbana-Champaign เป็นต้น
ที่น่าสนใจก็คือตอนนี้มีมหาวิทยาลัยหลายประเทศทั่วโลกเข้าร่วมทั้งจากเอเชีย ยุโรป
และอาหรับ ดังนั้นการเรียนจึงมีให้เลือกหลายภาษา ได้เงินทุนสนับสนุนจากเวนเจอร์แคปิตอลมาถึง
22 ล้านเหรียญสหรัฐในปีแรก โดยทดลองรูปแบบธุรกิจในการให้บริการบุคคลากรซึ่งเป็นนักเรียนของตนเองกับบริษัทต่างๆ
หลักสูตร : หลายร้อยวิชาจากเกือบร้อยมหาวิทยาลัยทั่วโลก
มีวิชาหลากหลาย ตั้งแต่ computer
science, math, business, humanities, social science, medicine, engineering,
education
การประเมินผล : ใช้ซอฟต์แวร์ในการตรวจการบ้าน
ข้อสอบประเภทปรนัย ส่วนอัตนัยจะใช้เพื่อน 5 คนช่วยกันตรวจ
ปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียน : ผ่านทางกลุ่มออนไลน์ฟอรัม
และสามารถนัดพบกันได้ทาง meetup ซึ่งมีกลุ่นนักเรียนจัดนัดพบกันตามเมืองต่างๆ
ทั่วโลก
เวลาในการเรียน : บทเรียนส่วนมากมีวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดชัดเจน
โดยสามารถย้อนกลับไปดูวีดิโอย้อนหลังได้ตลอด
สิ่งที่ผู้เรียนได้รับ : เกียรติบัตรซึ่งมีลายเซ็นของอาจารย์คนสอนแต่ไม่ใช่จากมหาวิทยาลัย
และเริ่มมีบางวิชาสามารถเทียบโอนหน่วยกิตกับมหาวิทยาลัยต่างๆ
ได้ทั่วสหรัฐอเมริกา
UDACITY (Udacity.com)
ความเป็นมา
เป็น
MOOC ที่แสวงหากำไรก่อตั้งโดย
Sebastian Thrun ซึ่งเป็น VP ของ
Google อาจารย์พาร์ทไทม์จากมหาวิทยาลัย Stanford
ร่วมกับPeter Norvigโดยได้ติดต่อศาสตราจารย์เก่งๆ
จากหลายมหาวิทยาลัยเข้ามาสอน ดังนั้นจึงเน้นขายชื่อผู้สอนมากกว่าชื่อมหาวิทยาลัย
โดยเน้นวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ได้เงินทุนสนับสนุนจากบริษัทเวนเจอร์แคปิตอลมา 21 ล้านเหรียญสหรัฐ
หลักสูตร : 28 วิชา ด้านธุรกิจ
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์
การประเมินผล : ใช้ซอฟต์แวร์ในการตรวจการบ้าน
ข้อสอบทั้งหมด
ปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียน : ผ่านทางกลุ่มออนไลน์
และสามารถนัดพบกันได้ตามเมืองต่างๆ ทั่วโลก
เวลาในการเรียน : ผู้เรียนสามารถเริ่มเรียนเมื่อไหร่ก็ได้ตามอัธยาศัย
สิ่งที่ผู้เรียนได้รับ : เกียรติบัตรแบ่งระดับความสามารถ
4 ระดับ มีบริการหางานด้านเทคโนโลยีกับบริษัทใหญ่ๆ ให้
และโอนหน่วยกิตได้ในบางวิชา
ความเป็นมา
เป็น
MOOC ที่ไม่แสวงหากำไร
ก่อตั้งโดยมหาวิทยาลัย Harvard และ MIT โดยทั้งสองสถาบันได้ลงเงินทุนสนับสนุนให้ถึง 60 ล้านเหรียญสหรัฐ
ตอนนี้วิชาเรียนยังมาจาก Hardvard, MIT, และ UC
Berkeley เป็นหลัก แต่ตอนนี้มีวิชาเรียนจากอีก 9 มหาวิทยาลัยเข้ามาร่วม และที่น่าสนใจคือกำลังจะมีมหาวิทยาลัยจากทางเอเชียหลายแห่ง
เช่น ปักกิ่ง, โซล, ฮ่องกง, เกียวโต และบอมเบย์ เข้าร่วม
หลักสูตร : 68 กว่าวิชา จาก 12
มหาวิทยาลัย
การประเมินผล : ใช้ซอฟต์แวร์ในการตรวจการบ้านและ
ข้อสอบทั้งหมด โดยการสอบบางวิชาจะต้องไปสอบที่ศูนย์สอบ
ปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียน : ยังมีน้อยเพราะเพิ่งเปิดได้ไม่นาน
ที่ผ่านมามีแค่วิชาเดียวที่มีการนัดพบกันในระดับภูมิภาค
เวลาในการเรียน : ส่วนมากจะมีวันเริ่มและวันสิ้นสุดที่แน่นอน
และสามารถลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 2 สัปดาห์หลังจากเริ่มสอน
สิ่งที่ผู้เรียนได้รับ : ได้รับเกียรติบัตร
2 ใบ ใบแรกรับรองว่าเรียนจบ อีกใบหนึ่งรับรองว่าสอบผ่าน
โดยทั้งสองใบมีตราของ edX และตราของมหาวิทยาลัยต่อท้ายด้วย “X”
เช่น HardvardX, MITX เป็นต้น
MOOC
พันธุ์ไทย
ความจริงประเทศไทยก็มีการให้บริการความรู้ทางออนไลน์มาเป็นระยะเวลานานพอสมควรแล้ว
อย่างเช่น เว็บไซต์ ไทยกู๊ดวิวดอทคอม(Thaigoodview.com) ที่เกิดจากหน่วยงานเอกชนและรัฐบาลร่วมมือกัน, วิชาการดอทคอม
(vcharkarn.com) ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(สสวท), ทรูปลูกปัญญา (trueplookpanya.com) ของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชัน จำกัด และถ้าเป็นระดับมหาวิทยาลัยทางโครงการ Thailand
Cyber University (TCU : Thaicyberu.go.th) ซึ่งเป็นโครงการภายใต้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาของรัฐ
(สกอ.) ก็ได้นำเสนอบทเรียนออนไลน์เพื่อเรียนฟรีตามอัธยาศัย (self-pace) กว่า 600 รายวิชาแล้ว
จากมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมมือในโครงการนี้
และปัจจุบันทาง TCU ก็กำลังริเริ่มจะมีการเรียนการสอนในรูปแบบ
MOOC มาตรฐาน เรียกว่า Thai-MOOC โดยมีมหาวิทยาลัยที่เป็นผู้ก่อตั้งคือจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ก็หวังว่าเราจะได้เห็นบรรยากาศความตื่นตัวในการเรียนรู้ของคนไทยเพื่อเตรียมตัวต้อนรับสู่
AEC ในไม่ช้านี้
ปัญหาและความท้าทายของ
MOOC
ปัญหาท้าทายมากที่สุดของ MOOC
ก็คืออัตราการเลิกเรียนหรือเรียนไม่จบยังสูงมาก
โดยครั้งหนึ่งได้มีการสำรวจพบว่ามีนักเรียนเข้าไปลงทะเบียนเรียนใน edX วิชา Circuits &
Electronics จำนวนมากถึง 155,000 คน
แต่มี 23,000
คนเท่านั้นที่ได้แต้มไปบ้าง (หมายถึงได้ลงมือทำแบบฝึกหัดอะไรไปบ้าง) แต่มีเพียง 9,300
คนที่ผ่านการสอบกลางภาค พอถึงก่อนสอบปลายภาคก็เหลือนักเรียนแค่ 8,200 คน ซึ่งจากจำนวนนี้มี 7,000
คนเท่านั้นที่ผ่านหลักสูตรโดยสมบูรณ์
และจากจากสำรวจเจาะลึกพบกว่า
มีเพียงครึ่งหนึ่งจากผู้เรียนจบเท่านั้นที่มีอายุอยู่ในวัยเรียนมหาวิทยาลัยตามระบบ ที่สำคัญคือสองในสามของนักเรียนกลุ่มนี้
ยอมรับว่าเคยเรียนวิชาที่คล้ายกับวิชา Circuits & Electronics มาแล้ว แต่เกือบทุกคนบอกว่าการออกแบบหลักสูตรของ edX ดีกว่าที่เคยเรียน จะเห็นได้ว่า MOOC
อาจเป็นช่องทางการเรียนเสริมที่ดีมากกว่าการเรียนที่จะเอาประกาศนียบัตร แต่ทำอย่างไรถึงจะให้ผู้เรียนตั้งใจเรียนจนจบในอัตราส่วนที่มากกว่านี้
โอกาสของคนทำอีเลิร์นนิง
และครู/อาจารย์
MOOC มีโอกาสที่จะไม่ใช่แค่มา “ปรับโฉม” รูปแบบการศึกษาในโลกยุคดิจิตอลเท่านั้น
แต่อาจถึงขั้น “ปฏิวัติ” การศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอุดมศึกษากันเลยทีเดียว (แต่มหาวิทยาลัยในรูปแบบเดิมก็ยังคงอยู่)
ซึ่งนอกจากจะเป็นการเปิดประตูแห่งโอกาสอย่างกว้างขวางสำหรับนักเรียนแล้ว
ยังเปิดโอกาสให้กับนักพัฒนาสื่อการเรียนการสอนแบบดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็นนักออกแบบการสอน (Instructional
Designer), นักพัฒนาหลักสูตร (Courseware Engineer), นักออกแบบกราฟิก, นักถ่ายและตัดต่อวิดิโอ
แม้กระทั่งครูอาจารย์ที่จะได้บทบาทเพิ่มเติมเป็นนักแสดง นักเล่าเรื่อง
และนักเขียนบทอีกด้วย
ซึ่งดูเหมือนงานจะมากขึ้น
แต่ความจริงแล้วงานสอนจะมีความสร้างสรรค์และมีคุณภาพมากขึ้น
แต่เหนื่อยที่ต้องพูดซ้ำๆ กันน้อยลงมากมาย
นอกจากนี้ยังมีโอกาสทำรายได้มากขึ้นจากส่วนแบ่งของการสอนอีกด้วย (ภาสกร ใหลสกุล 2014)
แหล่งที่มา
แหล่งที่มา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)