Massive
Open Online Course (MOOCs)
คำว่า อีเลิร์นนิง นั้นเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในวงการการศึกษา ซึ่งปัจจุบันสามารถเข้าถึงหลักสูตรการเรียนรู้ต่างๆ
ทางออนไลน์และอุปกรณ์โมบายต่างๆ ได้โดยสะดวก
เทคโนโลยีไอซีทีก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้งก็ทำให้เทคโนโลยีด้านอีเลิร์นนิงมีการพัฒนารูปแบบและช่องทางใหม่ๆ
เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
และเทคโนโลยีด้านการศึกษาที่กำลังถูกกล่าวขวัญถึงในปัจจุบันกันอย่างมากก็คือ
“MOOC”
(อ่านว่า “มู้ก”)
ความหมายของ Massive Open Online Course
Massive ผู้เรียนลงทะเบียนได้มากกว่า
10,000คน
Open ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ใครๆก็ลงทะเบียนเรียนได้
Online เรียนออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต
Course เปิดสอนได้ตลอดตามเวลาที่ต้องการได้
โดยไม่จำเป็นต้องขอรับประกาศนียบัตรผล การเรียน
Moocs ย่อมาจาก Massive Open Online Course หมายถึง การเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนแบบออนไลน์
แบบเปิดเสรีที่ไม่ว่าใครก็ตามจากซีกไหนในโลกสามารถสมัครเข้าเรียนได้ไม่จำกัดจำนวน
โดยเฉพาะการศึกษาระดับสูงที่ในระบบการศึกษาเดิมนั้นจำกัดอยู่แต่เฉพาะคนจำนวนน้อยเท่านั้น
ข่าวสารด้าน Massive
Open Online Course
Moocs เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันมีทั้งที่ทำในเชิงธุรกิจเพื่อสร้างกำไร
หรือเป็นแบบไม่แสวงกำไร หนึ่งใน Moocs แบบไม่แสวงกำไรที่เป็นรู้จักกันก็คือ
edX ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและเอ็มไอทีของสหรัฐอเมริกา
เปิดหลักสูตรออนไลน์ฟรีจากมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการ
ใครที่ไหนในโลกที่มีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษเพียงพอสามารถลงทะเบียนเรียนแบบออนไลน์ได้กันอย่างไม่จำกัด
มีผู้สอนที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
หรือผู้เชี่ยวชาญมาสอนผ่านระบบออนไลน์ไม่ต่างไปจากการเรียนในมหาวิทยาลัย
มีทุกอย่างที่เหมือนกันหมด ยกเว้นผู้เรียนไม่ได้ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเท่านั้น
วิธีนี้เปิดโอกาสให้คนจากทั่วโลกสามารถเข้าถึงการศึกษาระดับสูงได้แบบไม่จำกัด
ซึ่งในอดีตไม่สามารถทำได้
ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวใหม่เกิดขึ้นก็คือ กูเกิล ยักษ์ใหญ่ในวงการไอทีของโลกก้าวเข้าในแวดวงนี้ด้วยการเปิดแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิดใหม่ขึ้นมาที่ชื่อว่า
MOOC.org
โดยจับมือกับ edX ซึ่งนอกจากจะมีหลักสูตรออนไลน์ฟรีจาก
edX แล้ว ยังรับหลักสูตรออนไลน์จากภายนอกจาก สถาบันอื่นๆ
รัฐบาล ธุรกิจ และจากคนทั่วๆ ไปด้วย
กล่าวโดยรวบรัด MOOC.org
เปิดเสรีสำหรับใครก็ตามไม่ว่าจะเป็นคน หน่วยงาน องค์กร สถาบัน
เสนอหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์ขึ้นมาที่ไซต์เพื่อเปิดสอน
หรือสุดท้ายแล้วสูงสุดก็คือ จะทำให้ MOOC.org เปรียบเสมือนยูทูบสำหรับ
Moocs เลยทีเดียว
MOOC.org จะเปิดตัวจริงๆ กันกลางปีหน้า
เพราะฉะนั้นตอนนี้เข้าไปที่เว็บไซต์จะยังไม่มีหลักสูตรอะไรนอกจากข้อมูลคร่าวๆ
แต่สามารถดูของจริงที่ให้บริการอยู่จาก www.edx.org และสามารถเลือกลงทะเบียนเรียน
หลักสูตรต่างๆ ได้ด้วย
แต่ละหลักสูตรเมื่อเรียนจบและผ่านจะมีใบรับรองให้ว่าผ่านการเรียนมาแล้วในวิชานั้นๆ
นี่คือโอกาสทางการศึกษาที่เปิดกว้าง สำหรับมวลชนทั้งโลกจริงๆ
แม้จะจำกัดเฉพาะสำหรับคนที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้เท่านั้นก็ตาม
แต่ต้องยอมรับว่าในอดีตที่ผ่านมา
เราไม่เคยมีระบบการศึกษาแบบขนานใหญ่และเปิดเสรีมากขนาดนี้มาก่อน
แม้จะมีสิ่งที่เรียกกันว่า การศึกษาทางไกลแต่เมื่อเทียบกับ Moocs
แล้วยังห่างไกลกันมาก
ข้อจำกัด ที่จะเป็นอุปสรรคของผู้เรียนผ่าน Moocs
ก็คือ ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษเท่านั้น (มติชนรายวัน 2556)
องค์ประกอบของรายวิชา
MOOC
เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
โดยต้องมี
1.
วิดีโอแบบสั้นๆหลายๆชุด เช่น
1)
การพูดให้ข้อมูล
2)
การยกตัวอย่างงาน
3)
การทดลอง
2.
เอกสารประกอบออนไลน์
3.
การสนทนา
แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
4.
กิจกรรมออนไลน์
5.
การประเมินผลการเรียน
6.
การทดสอบความเขาใจ เช่น
แบบเลือกตอบ แบบจบกลม แบบประเมินตนเอง
คุณสมบัติสำคัญสำหรับของ
MOOCs
เป็นระบบเปิดหรือเรียนได้แบบเสรี โดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องมีการลงทะเบียนเป็นนักเรียนหรือเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
ทั้งสิ้น
รองรับผู้เรียนได้อย่างกว้างไกลและรับจำนวนผู้เรียนมากได้
ซึ่งมีความแตกต่างกับการเรียนแบบเดิมๆ
ที่รองรับผู้เรียนได้จำนวนน้อยเพราะต้องใช้ครูสอน ซึ่งทำให้มีข้อจำกัดเรื่องอัตราส่วนของครูกับคนเรียน
ซึ่ง MOOCs
ไม่มีข้อจำกัดนั้น เพราะสามารถรองรับผู้เรียนได้แบบมหาศาล
หรือคุณสมบัติอื่นๆ เช่น
เนื้อหาที่นำมาให้เรียนเป็นเนื้อหาแบบเปิด
(open
licensing of content) เป็นต้น
แนวคิดที่เป็นแก่นของ
MOOC
เรียกว่า “หัวใจของ MOOC”
1. การเข้าถึง (Accessibility)
: การเรียนผ่าน MOOC นั้นส่วนใหญ่จะไม่มีค่าใช้จ่าย
โดยผู้จัดทำ (มหาวิทยาลัยต่างๆ)และผู้ให้ทุนสนับสนุนเริ่มต้นด้วยแนวคิด “เราเป็นคนใจดี” (CSR) ไม่มีค่าใช้จ่าย
(หรืออาจมีค่าใช้จ่ายถ้าแลกกับปริญญาบัตรจริง)
ทำให้ใครก็ตามที่มีอินเตอร์เน็ตก็สามารถเรียนได้
แต่ก็ต้องฟังภาษาที่เค้าสอนรู้เรื่องด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นภาษาอังกฤษ
2. การปฏิสัมพันธ์ (Interaction)
: การเรียนผ่าน MOOC
นั้นผู้เรียนไม่ได้เพียงนั่งฟังอย่างเดียว
ระหว่างดูวิดีโอไปจะมีคำถามแทรกอยู่ตลอด ทำให้ผู้เรียนต้องตั้งใจเรียนตลอดเวลา
นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถตั้งคำถามโดยให้เพื่อนนักเรียนที่มีอยู่ทั่วโลกมาช่วยกันมาตอบได้
และสามารถปรึกษากับผู้ส่วนหรือผู้ช่วยสอนได้ตลอด
ซึ่งสิ่งนี้เป็นการสร้างบรรยายการเรียนแบบ one-on-one (มีคนช่วยสอนแบบตัวต่อตัว)
ให้เกิดเป็นจริงในโลกออนไลน์ได้แม้จะมีนักเรียนเป็นจำนวนมากก็ตาม
3. เสรีภาพ (Freedom) : ผู้เรียนจะเป็นใครอยู่ที่ไหน อายุเท่าไหร่
และมีพื้นฐานอะไรไม่สำคัญมีสิทธิเข้าเรียนได้เหมือนกันหมด
โดยสามารถเลือกวิชาที่อยากเรียนได้ตามใจชอบ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวบังคับ
(นอกจากจะเรียนเอาเกียรติบัตรและปริญญา) และเรียนตามความเร็วและเวลาที่ตัวเองสะดวก
ในกรณีที่เป็นการเรียนแบบตามอัธยาศัย (self-pace) แต่ถ้าเป็นการเรียนแบบมีกำหนดเวลาก็ต้องทำตามเวลาที่เค้ากำหนด (สุริยา เผือกพันธ์ 2013)
ลักษณะการเรียนของ Massive
Open Online Course
การเรียนลักษณะที่เรียกว่า MOOCs.
หรือ Massive Open Online Courses ที่ใช้หลักการนำเสนอแบบ
Anyone Anywhere “ใครก็ได้ อยู่ที่ไหนก็เรียนได้” เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น
และมีการเปิดหลักสูตรกันในมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งทั่วโลก ล่าสุดที่ออสเตรเลีย
โปรแกรม Open2Study ที่ออสเตรเลียได้เปิดโปรแกรมเรียนฟรีออนไลน์มาตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา
โดยมี 10 วิชา(หลักสูตร วิชาละ 4
สัปดาห์)
7 เดือนต่อมา มีการเพิ่ม 32 วิชาเรียน โดยผู้ลงทะเบียนเรียน 60%
มาจากต่างประเทศ โดยในจำนวนนี้ 5 ชาติที่เรียนมากที่สุด
ได้แก่ สหรัฐ อินเดีย สหราชอาณาจักร สเปน และ แคนาดา
คอร์สที่ได้รับความนิยมมาก ได้แก่ “Principles of project
management”, “Food, nutrition and your health”, “Writing for the web”, “User
experience for the web” and “Strategic management” ส่วนอาจารย์ผู้สอนก็มีความหลากหลาย
เพราะมาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งสถาบันในลักษณะโพลีเทคนิกต่าง ๆ
สิ่งที่เป็นความท้าทายของระบบ MOOCs
การศึกษาออนไลน์ ก็คือ แม้ว่าจะดึงดูดผู้เรียนได้จำนวนมาก
แต่ส่วนใหญ่เรียนไม่จบ จึงเป็นปัญหาให้ผู้ออกแบบระบบต้องไปวิเคราห์
เพราะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดการเรื่องนี้ โดยที่ผ่านมา มีเพียง 1 ใน 4 ที่เรียนโปรแกรม
Open2Study ที่จบหลักสูตรตามกำหนด อย่างไรก็ตาม
ผู้บริหารระบบOpen2Study มองในแง่ดีว่า
เป็นเพราะโปรแกรมมีการเน้นคุณภาพที่เข้มข้น กว่ารูปแบบอื่น ๆ
และจากที่มีการเปิดวิชาใหม่ขึ้นแทบทุกเดือน
ทำให้คาดว่าภายในสิ้นปี 2013 Open2Studyจะมีวิชาเรียนเพิ่มขึ้นเป็นมากถึง
50 วิชา (ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ 2556)
ผู้ให้บริการ MOOC (MOOC Provider) ยอดนิยม
เส้นทางความสัมพันธ์และเงินทุนของ 4 MOOC ยอดนิยม
KHAN ACADEMY (Khanacademy.org)
Salman Khan อดีตนักวิเคราะเฮจด์ฟันด์ผู้ก่อตั้ง
Khan Academy
ความเป็นมา
ก่อตั้งโดย Salman Khan ชาวอเมริกันเชื้อสายบังคลาเทศ-อินเดีย
ซึ่งเปิดสอนหัวข้อในระดับมัธยมเป็นหลักและขยายไปหลากหลาย ซึ่ง Salman Khan มีอดีตเป็นนักวิเคราะห์ของบริษัทเฮจด์ฟันด์ และเคยเรียนจบทั้ง MIT และ Harvard Business School ซึ่งบังเอิญต้องมาช่วยสอนการบ้านหลานสาวทาง
YouTube เมื่อคนดูแล้วชอบเลยได้รับการสนับสนุนจาก
มูลนิธิ Bill & Melinda Gates ถึง 5.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และได้เงินรางวัลสนับสนุนอีกหลายแหล่ง
และตอนนี้มีวิชาให้เรียนกว่า 3,000 บทเรียนแล้ว และมีคนเช้ามาเรียนกว่า
70,000 คนทุกๆ วัน มีระบบติดตามประเมินการเรียน
และมีการให้ Badge เป็นรางวัลรับรองความสำเร็จอีกด้วย
ที่สำคัญคือไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนใดๆ ทั้งสิ้น
COURSERA (Coursera.org)
Daphne Koller โปรเฟสเซอร์ด้าน Computer Science จากมหาวิทยาลัย Stanford
ผู้ร่วมก่อตั้ง Coursera
ความเป็นมา
เป็น MOOC ที่แสวงหากำไร ก่อตั้งโดย Andrew Ng
และ Daphne Koller โปรเฟสเซอร์ด้าน Computer
Science จากมหาวิทยาลัย Stanford โดยร่วมกับ 62
มหาวิทยาลัยและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งมหาลัยชื่อดังอย่างเช่น
Duke, California Institute of Technology, University of Illinois
at Urbana-Champaign เป็นต้น
ที่น่าสนใจก็คือตอนนี้มีมหาวิทยาลัยหลายประเทศทั่วโลกเข้าร่วมทั้งจากเอเชีย ยุโรป
และอาหรับ ดังนั้นการเรียนจึงมีให้เลือกหลายภาษา ได้เงินทุนสนับสนุนจากเวนเจอร์แคปิตอลมาถึง
22 ล้านเหรียญสหรัฐในปีแรก โดยทดลองรูปแบบธุรกิจในการให้บริการบุคคลากรซึ่งเป็นนักเรียนของตนเองกับบริษัทต่างๆ
หลักสูตร : หลายร้อยวิชาจากเกือบร้อยมหาวิทยาลัยทั่วโลก
มีวิชาหลากหลาย ตั้งแต่ computer
science, math, business, humanities, social science, medicine, engineering,
education
การประเมินผล : ใช้ซอฟต์แวร์ในการตรวจการบ้าน
ข้อสอบประเภทปรนัย ส่วนอัตนัยจะใช้เพื่อน 5 คนช่วยกันตรวจ
ปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียน : ผ่านทางกลุ่มออนไลน์ฟอรัม
และสามารถนัดพบกันได้ทาง meetup ซึ่งมีกลุ่นนักเรียนจัดนัดพบกันตามเมืองต่างๆ
ทั่วโลก
เวลาในการเรียน : บทเรียนส่วนมากมีวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดชัดเจน
โดยสามารถย้อนกลับไปดูวีดิโอย้อนหลังได้ตลอด
สิ่งที่ผู้เรียนได้รับ : เกียรติบัตรซึ่งมีลายเซ็นของอาจารย์คนสอนแต่ไม่ใช่จากมหาวิทยาลัย
และเริ่มมีบางวิชาสามารถเทียบโอนหน่วยกิตกับมหาวิทยาลัยต่างๆ
ได้ทั่วสหรัฐอเมริกา
UDACITY (Udacity.com)
ความเป็นมา
เป็น
MOOC ที่แสวงหากำไรก่อตั้งโดย
Sebastian Thrun ซึ่งเป็น VP ของ
Google อาจารย์พาร์ทไทม์จากมหาวิทยาลัย Stanford
ร่วมกับPeter Norvigโดยได้ติดต่อศาสตราจารย์เก่งๆ
จากหลายมหาวิทยาลัยเข้ามาสอน ดังนั้นจึงเน้นขายชื่อผู้สอนมากกว่าชื่อมหาวิทยาลัย
โดยเน้นวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ได้เงินทุนสนับสนุนจากบริษัทเวนเจอร์แคปิตอลมา 21 ล้านเหรียญสหรัฐ
หลักสูตร : 28 วิชา ด้านธุรกิจ
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์
การประเมินผล : ใช้ซอฟต์แวร์ในการตรวจการบ้าน
ข้อสอบทั้งหมด
ปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียน : ผ่านทางกลุ่มออนไลน์
และสามารถนัดพบกันได้ตามเมืองต่างๆ ทั่วโลก
เวลาในการเรียน : ผู้เรียนสามารถเริ่มเรียนเมื่อไหร่ก็ได้ตามอัธยาศัย
สิ่งที่ผู้เรียนได้รับ : เกียรติบัตรแบ่งระดับความสามารถ
4 ระดับ มีบริการหางานด้านเทคโนโลยีกับบริษัทใหญ่ๆ ให้
และโอนหน่วยกิตได้ในบางวิชา
ความเป็นมา
เป็น
MOOC ที่ไม่แสวงหากำไร
ก่อตั้งโดยมหาวิทยาลัย Harvard และ MIT โดยทั้งสองสถาบันได้ลงเงินทุนสนับสนุนให้ถึง 60 ล้านเหรียญสหรัฐ
ตอนนี้วิชาเรียนยังมาจาก Hardvard, MIT, และ UC
Berkeley เป็นหลัก แต่ตอนนี้มีวิชาเรียนจากอีก 9 มหาวิทยาลัยเข้ามาร่วม และที่น่าสนใจคือกำลังจะมีมหาวิทยาลัยจากทางเอเชียหลายแห่ง
เช่น ปักกิ่ง, โซล, ฮ่องกง, เกียวโต และบอมเบย์ เข้าร่วม
หลักสูตร : 68 กว่าวิชา จาก 12
มหาวิทยาลัย
การประเมินผล : ใช้ซอฟต์แวร์ในการตรวจการบ้านและ
ข้อสอบทั้งหมด โดยการสอบบางวิชาจะต้องไปสอบที่ศูนย์สอบ
ปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียน : ยังมีน้อยเพราะเพิ่งเปิดได้ไม่นาน
ที่ผ่านมามีแค่วิชาเดียวที่มีการนัดพบกันในระดับภูมิภาค
เวลาในการเรียน : ส่วนมากจะมีวันเริ่มและวันสิ้นสุดที่แน่นอน
และสามารถลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 2 สัปดาห์หลังจากเริ่มสอน
สิ่งที่ผู้เรียนได้รับ : ได้รับเกียรติบัตร
2 ใบ ใบแรกรับรองว่าเรียนจบ อีกใบหนึ่งรับรองว่าสอบผ่าน
โดยทั้งสองใบมีตราของ edX และตราของมหาวิทยาลัยต่อท้ายด้วย “X”
เช่น HardvardX, MITX เป็นต้น
MOOC
พันธุ์ไทย
ความจริงประเทศไทยก็มีการให้บริการความรู้ทางออนไลน์มาเป็นระยะเวลานานพอสมควรแล้ว
อย่างเช่น เว็บไซต์ ไทยกู๊ดวิวดอทคอม(Thaigoodview.com) ที่เกิดจากหน่วยงานเอกชนและรัฐบาลร่วมมือกัน, วิชาการดอทคอม
(vcharkarn.com) ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(สสวท), ทรูปลูกปัญญา (trueplookpanya.com) ของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชัน จำกัด และถ้าเป็นระดับมหาวิทยาลัยทางโครงการ Thailand
Cyber University (TCU : Thaicyberu.go.th) ซึ่งเป็นโครงการภายใต้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาของรัฐ
(สกอ.) ก็ได้นำเสนอบทเรียนออนไลน์เพื่อเรียนฟรีตามอัธยาศัย (self-pace) กว่า 600 รายวิชาแล้ว
จากมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมมือในโครงการนี้
และปัจจุบันทาง TCU ก็กำลังริเริ่มจะมีการเรียนการสอนในรูปแบบ
MOOC มาตรฐาน เรียกว่า Thai-MOOC โดยมีมหาวิทยาลัยที่เป็นผู้ก่อตั้งคือจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ก็หวังว่าเราจะได้เห็นบรรยากาศความตื่นตัวในการเรียนรู้ของคนไทยเพื่อเตรียมตัวต้อนรับสู่
AEC ในไม่ช้านี้
ปัญหาและความท้าทายของ
MOOC
ปัญหาท้าทายมากที่สุดของ MOOC
ก็คืออัตราการเลิกเรียนหรือเรียนไม่จบยังสูงมาก
โดยครั้งหนึ่งได้มีการสำรวจพบว่ามีนักเรียนเข้าไปลงทะเบียนเรียนใน edX วิชา Circuits &
Electronics จำนวนมากถึง 155,000 คน
แต่มี 23,000
คนเท่านั้นที่ได้แต้มไปบ้าง (หมายถึงได้ลงมือทำแบบฝึกหัดอะไรไปบ้าง) แต่มีเพียง 9,300
คนที่ผ่านการสอบกลางภาค พอถึงก่อนสอบปลายภาคก็เหลือนักเรียนแค่ 8,200 คน ซึ่งจากจำนวนนี้มี 7,000
คนเท่านั้นที่ผ่านหลักสูตรโดยสมบูรณ์
และจากจากสำรวจเจาะลึกพบกว่า
มีเพียงครึ่งหนึ่งจากผู้เรียนจบเท่านั้นที่มีอายุอยู่ในวัยเรียนมหาวิทยาลัยตามระบบ ที่สำคัญคือสองในสามของนักเรียนกลุ่มนี้
ยอมรับว่าเคยเรียนวิชาที่คล้ายกับวิชา Circuits & Electronics มาแล้ว แต่เกือบทุกคนบอกว่าการออกแบบหลักสูตรของ edX ดีกว่าที่เคยเรียน จะเห็นได้ว่า MOOC
อาจเป็นช่องทางการเรียนเสริมที่ดีมากกว่าการเรียนที่จะเอาประกาศนียบัตร แต่ทำอย่างไรถึงจะให้ผู้เรียนตั้งใจเรียนจนจบในอัตราส่วนที่มากกว่านี้
โอกาสของคนทำอีเลิร์นนิง
และครู/อาจารย์
MOOC มีโอกาสที่จะไม่ใช่แค่มา “ปรับโฉม” รูปแบบการศึกษาในโลกยุคดิจิตอลเท่านั้น
แต่อาจถึงขั้น “ปฏิวัติ” การศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอุดมศึกษากันเลยทีเดียว (แต่มหาวิทยาลัยในรูปแบบเดิมก็ยังคงอยู่)
ซึ่งนอกจากจะเป็นการเปิดประตูแห่งโอกาสอย่างกว้างขวางสำหรับนักเรียนแล้ว
ยังเปิดโอกาสให้กับนักพัฒนาสื่อการเรียนการสอนแบบดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็นนักออกแบบการสอน (Instructional
Designer), นักพัฒนาหลักสูตร (Courseware Engineer), นักออกแบบกราฟิก, นักถ่ายและตัดต่อวิดิโอ
แม้กระทั่งครูอาจารย์ที่จะได้บทบาทเพิ่มเติมเป็นนักแสดง นักเล่าเรื่อง
และนักเขียนบทอีกด้วย
ซึ่งดูเหมือนงานจะมากขึ้น
แต่ความจริงแล้วงานสอนจะมีความสร้างสรรค์และมีคุณภาพมากขึ้น
แต่เหนื่อยที่ต้องพูดซ้ำๆ กันน้อยลงมากมาย
นอกจากนี้ยังมีโอกาสทำรายได้มากขึ้นจากส่วนแบ่งของการสอนอีกด้วย (ภาสกร ใหลสกุล 2014)
แหล่งที่มา
แหล่งที่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น