ความหมายของ ICT
ICT คือ การใช้ computer
Software และอุปกรณ์ร่วมใน การทำงานเพื่อประมวลผลข้อมูล
จัดเก็บอย่างเป็นระบบ สืบค้นสารสนเทศ รวมถึงการใช้เครือข่ายและเทคโนโลยีต่าง ๆ
ในการสื่อสารความเร็วสูง เพื่อรับส่ง สารสนเทศด้วยความสะดวก รวดเร็ว
เพื่อนำไปใช้ใน วงการต่าง ๆ
ควรเป็นวิชาหรือเครื่องมือ
- ICT ในฐานะเป็นวิชา(Subject)
หมายถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับ ICTโดยตรง
- ICT ในฐานะเป็นเครื่องมือ(tools)
หมายถึงการใช้ ICT เพื่อให้ครูใช้
สอนและผู้เรียนใช้เรียน
- ICT ในฐานะเป็นเครื่องมือช่วย
หมายถึงการใช้ ICT เป็นเครื่องมือ ช่วยในการทำงาน
เช่นการรวบรวมเอกสาร เตรียมการสอน การวิจัย
การใช้งานลักษณะนี้จะเป็นอิสระจากวิชาเรียน
- ICT ในฐานะเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการ
หมายถึงการใช้ ICTในการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS)
จุดหมายการใช้ ICTในการเรียนการสอน
ด้านผู้เรียน
- การรู้เทคโนโลยี
และรู้สารสนเทศ ในระดับพื้นฐานเพื่อสามารถเข้าถึงและสามารถใช้ ICTเพื่อการค้นคว้า รวบรวมและประมวลผลจากแหล่งต่าง ๆ
เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่
- บูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยีและทักษะการจัดการสารสนเทศเพื่อพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์
การคิดอย่างสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาและการทางานเป็นทีม
- กระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาคุณค่า
ทัศนคติ และจริยธรรมในเชิงบวก
- ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสเข้าถึง
ใช้ และเรียนรู้ทักษะไอซีทีในการศึกษา
- ต้องให้ผู้เรียนมีโอกาสในการใช้และพัฒนาความรู้ไอซีทีในทุกสาขาวิชา
และเพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านไอซีทีให้มากขึ้น
- กระบวนการเรียนการสอนต้องไม่จัดเฉพาะในชั้นเรียนเท่านั้น
ผู้เรียนควรมีโอกาสสัมผัสโลกภายนอกผ่านเครือข่ายไอซีที
- จัดหาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อย่างพอเพียงและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนใช้ไอซีทีตามความต้องการแต่ละคน
- นักเรียนทุกคนที่จบการศึกษาชั้น
ม.3และม.6สามารถใช้โปรแกรมประมวลคาและตารางคานวณได้
และนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5สามารถเขียนโปรแกรมได้
- นักเรียนทุกคนในโรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่
1,100คนขึ้นไป ใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลได้
ด้านผู้สอน
ผู้สอนควรมีความรู้และทักษะไอซีทีในระดับสูง
รวมถึงเข้าใจในพัฒนาการของการใช้สื่อเทคโนโลยีการเรียนการสอนโดยมีจุดมุ่งหมาย ดังนี้
- คอมพิวเตอร์จะเป็นเครื่องมือหลักสำคัญสาหรับผู้สอนเพื่อเข้าถึงทรัพยากรการเรียน
การเตรียมแผนการสอน ให้การบ้าน และติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครอง
- ผู้สอนควรได้รับการอบรมในการใช้ไอซีทีและสามารถบูรณาการไอซีทีในกิจกรรมการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์
- ผู้สอนควรติดตามการพัฒนาและความก้าวหน้าของไอซีทีเพื่อนามาใช้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน
- ครูไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ใช้คอมพิวเตอร์เป็น และไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้
และต้องมีวิชาสอนด้วยการบูรณาการไอซีที
การใช้ ICT กับการเรียนการสอน
๑.) เป็นวิถีทางการแสวงหาความรู้
ด้วยตนเอง
๒.) ผู้เรียนเป็นผู้เริ่มต้นกระบวนการเรียนรู้นั้นด้วยตนเอง
๓.) ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนการสอนนั้นได้โดยที่ครู
เป็นผู้ดูแลอยู่ห่างๆ
๔.) เป็นการสร้างลักษณะนิสัยให้ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ซึ่งตรงกับ
พ.ร.บ. ๒๕๔๒ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
รู้จักแสวงหาความรู้ให้สอดคล้องกับ ความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
สรุป
ทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT Literacy) หมายถึงความสนใจ
ทัศนคติและความสามารถของแต่ละบุคคลในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและเครื่องมือการสื่อสารในการเข้าถึงสารสนเทศการจัดการ
การเชื่อมโยง การประเมิน การลำดับเนื้อหาและการสื่อสาร เพื่อใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นการมีทักษะการเรียนรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นการผสมผสานความรู้ทุกสาขาวิชารวมถึงทักษะการเรียนรู้และการใช้ชีวิต
21st Century skills
ความสำคัญ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ปัจจุบันเป็นยุคที่โลกมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว อันสืบเนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลต่าง
ๆ ของทุกภูมิภาคของโลกเข้าด้วยกัน กระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่
21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่
21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ
19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ
ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่
21 นี้ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน
ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ
ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ดังกล่าว
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
(21st
Century Skills)
วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21) ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่
21 ดังนี้
สาระวิชาหลัก (Core Subjects)
ประกอบด้วย
ภาษาแม่
และภาษาสำคัญของโลก
ศิลปะ
คณิตศาสตร์
การปกครองและหน้าที่พลเมือง
เศรษฐศาสตร์
วิทยาศาสตร์
ภูมิศาสตร์
ประวัติศาสตร์
โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ
(Interdisciplinary)
หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21
โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้
ทักษะแห่งศตวรรษที่
21
ความรู้เกี่ยวกับโลก
(Global
Awareness)
ความรู้เกี่ยวกับการเงิน
เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and
Entrepreneurial Literacy)
ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี
(Civic Literacy)
ความรู้ด้านสุขภาพ
(Health
Literacy)
ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
(Environmental
Literacy)
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน
ได้แก่
ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
การสื่อสารและการร่วมมือ
ทักษะด้านสารสนเทศ
สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย
ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย
โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
ความรู้ด้านสารสนเทศ
ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ
ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ
นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต
(Productivity)
และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ
(Responsibility)
ทักษะของคนในศตวรรษที่
21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต
คือ การเรียนรู้ 3R x 7C
3R คือ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้), และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น)
7C ได้แก่
1.) Critical
Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
2.) Creativity
and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
3.) Cross-cultural
Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรมต่างกระบวนทัศน์)
4.) Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
5.) Communications,
Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
6.) Computing
and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
7.) Career
and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
กรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21
กรอบแนวคิดในการจัดการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21
ที่แสดงผลลัพธ์ของนักเรียนและปัจจัยส่งเสริมสนับสนุนในการจัดการเรียนรู้เพื่อรองรับศตวรรษที่
21
กรอบแนวคิดเชิงมโนทัศน์สำหรับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
เป็นที่ยอมรับในการสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Model of 21st
Century Outcomes and Support Systems) ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางเนื่องด้วยเป็น กรอบแนวคิดที่เน้นผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน
(Student Outcomes) ทั้งในด้านความรู้สาระวิชาหลัก (Core Subjects) และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ที่จะช่วยผู้เรียนได้เตรียมความพร้อมในหลากหลายด้าน
รวมทั้งระบบสนับสนุนการเรียนรู้ ได้แก่มาตรฐานและการประเมิน
หลักสูตรและการเยนการสอน การพัฒนาครู สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนในศตวรรษที่
21
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวข้าม “สาระวิชา”
ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” (21st Century Skills) ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง
โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช (Coach)
และอำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการเรียนรู้แบบ
PBL (Problem-Based Learning) ของนักเรียน
ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้คือ
ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (Professional Learning Communities : PLC) เกิดจากการรวมตัวกันของครูเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำหน้าที่ของครูแต่ละคนนั่นเอง
แหล่งที่มา
http://www.schoolguide.in.th/index.php?option=com_school&view=contentdetail&id=2&Itemid=56
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น